นักศึกษา KKBS คว้า 4 รางวัล จากเวที “ISAN BRIDGE SOUL PROUD HACKATHON 2025” ต่อยอดทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ไอเดียธุรกิจสร้างสรรค์

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมจัดกิจกรรม ISAN BRIDGE SOUL PROUD HACKATHON 2025” เพื่อเปิดเวทีให้นักศึกษาได้เสนอแนวคิดเชิงนวัตกรรมสู่การต่อยอดทุนวัฒนธรรมอีสานผ่านโจทย์การพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ 1) Isan-ization แนวคิดการขยายธุรกิจเข้าสู่อีสาน 2) Isan Craft & Muniverse เชื่อมโยงงานคราฟต์และความเชื่อพื้นถิ่น 3) ลาบก้อย Universe ยกระดับอาหารอีสานทั้งห่วงโซ่คุณค่า 4) Sound of Isan ผลักดันหมอลำและดนตรีพื้นบ้านสู่ธุรกิจบันเทิง โดยกิจกรรมจัดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ (CEA), คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKBS) และบริษัท เรียลลี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SEA Bridge) ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งภายในงาน มหกรรมงานแสดงผลงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมแห่งภูมิภาคอีสาน ประจำปี 2568 หรือ ISAN CREATIVE FESTIVAL 2025”

สำหรับกิจกรรม ISAN BRIDGE SOUL PROUD HACKATHON 2025 มีนักศึกษากว่า 12 ทีมจากหลากหลายสถาบันทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน และผลการตัดสินปรากฏว่านักศึกษาจากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้รับรางวัลจำนวน 4 รางวัล พร้อมทุนการศึกษาและใบประกาศนียบัตร นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ KKBS TED Fellow โดยรายละเอียดทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลมีดังนี้

รางวัลชนะเลิศ ได้รับทุนการศึกษา จำนวน 10,000 บาท ได้แก่ ทีมข้าวฮัก นักศึกษาจากวิชาเอกการตลาด คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จากผลงาน ผลิตภัณฑ์ขนมข้าวพองอบกรอบ” ที่มาจาก “ข้าวหัก” ซึ่งเป็นข้าวที่หักจากการสีข้าว นำมาเพิ่มคุณค่าและแปรรูปอย่างพิถีพิถันจนกลายเป็นขนมที่มอบความสุขในทุกคำ

สมาชิกประกอบด้วย
นางสาวศุภาพิชญ์ แสงกลาง
นางสาวณภัทร จันทร์ขุนทศ
นางสาวนพรัตน์ จันทร์มล
นางสาวณัฐญาดา ทิพโสต 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับทุนการศึกษา จำนวน 7,000 บาท ได้แก่ทีม มาเด้อกินข้าว นักศึกษาจากสาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัลและเทคโนโลยีการตลาด วิชาเอกเทคโนโลยีการตลาด คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จากผลงาน “ผลิตภัณฑ์ผงปลาร้าไข่ผำ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนภาพลักษณ์อาหารอีสานให้ทันสมัยและเข้าถึงง่ายขึ้น

สมาชิกประกอบด้วย
นางสาวปิ่นอนงค์ เวียนเป๊ะ
นางสาวภัทราพร ยอดช้าง
นางสาวชลธิดา ผิวพรรณ์
นางสาวสุพิชชา สารภักดี
นายธีรภัทรชัย พันธ์มุง

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับทุนการศึกษา จำนวน 5,000 บาท ได้แก่ ทีม Chop นักศึกษาจากสาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัลและเทคโนโลยีการตลาด วิชาเอกผู้ประกอบการดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จากผลงาน “ผลิตภัณฑ์ข้าวหลามร่วมสมัย” การนำเอาข้าวหลามแบบเดิม มาพัฒนารสชาติ สร้าง packaging ที่น่าดึงดูด แต่ยังคงความเป็นข้าวหลามหนองไผ่ อำเภอชุมแพ ได้อย่างครบถ้วนบร่วมสมัย

สมาชิกประกอบด้วย
นายณัฐวัตร  มิ่งมิตรมี
นางสาวพิมพ์มาดา ปัตติมรรค
นางสาวปัญจรัตน์ วรรณโคตร
นายอภิสิทธิ์  อินชัยยา

รางวัลชมเชย ได้รับทุนการศึกษา จำนวน 3,000 บาท ได้แก่ ทีมจี่เด้อ นักศึกษาจากสาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัลและเทคโนโลยีการตลาด วิชาเอกผู้ประกอบการดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จากผลงาน “ผลิตภัณฑ์ข้าวจี่สอดไส้แบบอีซี่โก” ยกระดับอาหารพื้นถิ่นให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนยุคใหม่ โดยเน้นความสะดวกในการบริโภค รูปลักษณ์ร่วมสมัย และบรรจุภัณฑ์ที่พกพาง่าย เช่น ซอง Grab & Go หรือกล่อง eco-friendly ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงใส่กลิ่นอายความเป็นอีสานไว้ในดีไซน์ของบรรจุภัณฑ์

สมาชิกประกอบด้วย
นายปุรัสกร อ้วนพรมมา
นางสาวพิชญา เตรียมวิทยานนท์
นางสาวนัชดาว จันทาคูณ
นางสาวเจตน์สฤษฎิ์ คำหลวง