หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว

Bachelor of Business Administration Program in Tourism Innovation Management

                 ก้าวสู่อนาคตที่มั่นคงด้วยหลักสูตรที่พร้อมพาคุณไปสู่ระดับโลก หากคุณต้องการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะพาคุณไปไกลกว่าที่เคย เรียนรู้ ลงมือทำ และเติบโตไปกับเครือข่ายระดับโลก พร้อมเปิดประตูสู่โอกาสทางอาชีพที่ไร้ขีดจำกัด 

เกี่ยวกับหลักสูตร

            ในยุคที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว  คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับโลก

              หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์เข้าด้วยกัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนการสอนที่เน้นภาคปฏิบัติ ผู้เรียนจะได้สัมผัสประสบการณ์จริงจากแหล่งเรียนรู้ที่เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว เช่น KKU Travel (บริษัทนำเที่ยวจำลอง), ศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค (CAPTOUR), Isan MICE Student Chapter และ KKBS Spa ภายใต้การดูแลของศูนย์ความเป็นเลิศอุตสาหกรรมไมซ์ฯ (CEMBEI)

              ผู้เรียนจะได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติร่วมกับองค์กรและเครือข่ายทางธุรกิจชั้นนำ เช่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น, เครือข่ายสถาบันการศึกษาไมซ์ของประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน), ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น (KICE) และพันธมิตรทางเศรษฐกิจอีกมากมาย หลักสูตรนี้ออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ โดยให้นักศึกษาได้ทำโครงการวิจัยและโครงการที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริง

               นอกจากนี้ ผู้เรียนยังได้ฝึกงานกับองค์กรชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เข้มข้นและพร้อมก้าวสู่ตลาดแรงงานอย่างมืออาชีพโดยหลักสูตรแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ ได้แก่ กลุ่มเรียนภาษาไทย (เรียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และ กลุ่มเรียนภาษาอังกฤษ (เรียนเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร)  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านภาษาต่างประเทศ โดยกำหนดให้ศึกษา ภาษาที่สามควบคู่กับภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มโอกาสทางอาชีพในตลาดแรงงานระดับสากล อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เข้าร่วม โครงการสองปริญญา (Double Degree) กับ Universidad de Colima ประเทศเม็กซิโก ทำให้ผู้เรียนได้รับปริญญาจากทั้งสองสถาบัน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในระดับนานาชาติ

 


รายละเอียดหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Tourism Innovation Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา 

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย): บธ.บ. (การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Business Administration (Tourism Innovation Management)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):B.B.A. (Tourism Innovation Management)

รูปแบบของหลักสูตร: หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร 4 ปี

ภาษาที่ใช้:  กลุ่มจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย ใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางรายวิชา
กลุ่มจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาอังกฤษทุกรายวิชา

การรับเข้าศึกษา: กลุ่มจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี

กลุ่มจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

ความร่วมมือในการผลิตบัณฑิต: มีข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่นและ University of Colima ประเทศเม็กซิโก

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา :  นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่กำหนดจะได้รับปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น 1 ปริญญา และในกรณีที่นักศึกษาเลือกแผนการศึกษาตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ University of Colima ประเทศเม็กซิโก ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา 2 ปริญญา โดยมีวิธีการดังนี้

       มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยนักศึกษาต้องศึกษารายวิชาที่คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเวลา 3 ปี และนักศึกษาสามารถเลือกเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย University of Colima ประเทศเม็กซิโก ที่มหาวิทยาลัยได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันเป็นเวลา 1 ปี เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาจะได้ปริญญา 2 ปริญญา ซึ่งเป็นปริญญาในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

      ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยนักศึกษาต้องศึกษารายวิชาที่มหาวิทยาลัย University of Colima ประเทศเม็กซิโก เป็นเวลา 3 ปี และนักศึกษาสามารถเลือกเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มหาวิทยาลัยได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันเป็นเวลา 1 ปี เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาจะได้ปริญญา 2 ปริญญา ซึ่งเป็นปริญญาในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ


โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

หมวดวิชา แผนปกติ (หน่วยกิต)
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30
หมวดวิชาเฉพาะ 87
หมวดวิชาเลือกเสรี 6
หมวดวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 6
รวมหน่วยกิตทั้งหมด 129

ค่าธรรมเนียมการศึกษา กลุ่มเรียนภาษาไทย

ภาคการศึกษา ตลอดหลักสูตร
15,000 120,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการศึกษา กลุ่มเรียนภาษาอังกฤษ

รายการ ผู้ที่มีสัญชาติไทย ผู้ที่มีสัญชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง:GMS ผู้ที่มีสัญชาติอื่นๆ
ค่าธรรมเนียมการศึกษาปกติ/ภาคการศึกษา 38,000 38,000 40,000
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า(ชำระเพียงครั้งเดียว) 7,500 - 10,000
ค่าธรรมเนียมนักศึกษาต่างชาติ - 5,000 8,000

หมายเหตุ :

  1. ค่าธรรมเนียมการศึกษาเกณฑ์การรับเข้าแต่ละปีการศึกษามีความแตกต่างกัน
  2. ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้ชำระครึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมภาคปกติ
  3. ค่าธรรมเนียมการลาพักการศึกษา ภาคการศึกษาละ 1,000 บาท
  4. ค่าธรรมเนียมการศึกษาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความรู้และทักษะที่นักศึกษาจะได้รับ

  1. ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจและนวัตกรรมการท่องเที่ยว แนวคิดและกลยุทธ์การบริหารธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ การวางแผนและพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนวัตกรรมหลักการตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวเชิงกีฬา การวิเคราะห์แนวโน้มและพฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว
  2. ทักษะด้านการปฏิบัติจริงและการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เรียนรู้ผ่าน Problem-Based Learning (PBL) เพื่อแก้ปัญหาจริงในอุตสาหกรรม การพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ และการบริหารโครงการด้านการท่องเที่ยว ฝึกปฏิบัติจริงผ่าน บริษัทนำเที่ยวจำลอง (KKU Travel), ศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค (CAPTOUR), Isan MICE Student Chapter และ KKBS Spa ฝึกงานกับองค์กรธุรกิจและหน่วยงานท่องเที่ยวระดับนานาชาติ เพื่อเรียนรู้การดำเนินงานในสภาพแวดล้อมจริง
  1. ทักษะด้านการตลาดและการสื่อสารในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การสร้างแบรนด์และการตลาดดิจิทัลสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่อออนไลน์ การสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยว (Tourism Content Creation) เช่น Travel Influencer, Blogger, YouTuber และ Copywriter การวางแผนและดำเนินงานด้านการประชุม นิทรรศการ และงานแสดงสินค้า (MICE Industry)
  1. ทักษะด้านการวิเคราะห์และการตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูลและแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และการคาดการณ์แนวโน้มของตลาด การใช้เครื่องมือทางสถิติและเทคโนโลยีดิจิทัลในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว การประเมินความเสี่ยง และการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติด้านการท่องเที่ยว
  2. ทักษะด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และภาษาที่สาม เพื่อเพิ่มศักยภาพในระดับสากล การพัฒนาทักษะการเจรจาต่อรองและการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจในระดับนานาชาติ พร้อมโอกาสในการเข้าร่วม โครงการสองปริญญา (Double Degree) กับ Universidad de Colima ประเทศเม็กซิโก
  1. ทักษะด้านการพัฒนาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ  การสร้างแนวคิดธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว (Tourism Start-Up) การพัฒนาแผนธุรกิจและการบริหารโครงการเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรม การบริหารต้นทุน การเงิน และการจัดการทรัพยากรในธุรกิจการท่องเที่ยว
  2. ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมการท่องเที่ยว  การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่น่าจดจำ การบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism Management) การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยว และการนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย

แนวทางการประกอบอาชีพ

         อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งในภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ และการเป็นผู้ประกอบการ โดยสามารถแบ่งแนวทางอาชีพออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. สายงานองค์กรธุรกิจ-เอกชน สำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการในภาคเอกชน สามารถประกอบอาชีพในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การตลาด และการให้บริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
-ผู้บริหารในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ผู้จัดการโครงการด้านการท่องเที่ยว ผู้บริหารโรงแรมและรีสอร์ต ผู้จัดการแผนกต้อนรับ หรือผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้า
-นักวางแผนการท่องเที่ยวและนักพัฒนาการท่องเที่ยว สำหรับบริษัทท่องเที่ยว บริษัททัวร์ และหน่วยงานพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว
-ผู้ประกอบธุรกิจการจัดนำเที่ยว ตัวแทนท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์ ที่ทำงานร่วมกับบริษัทนำเที่ยวและเครือข่ายธุรกิจด้านการเดินทาง
-นักสร้างเนื้อหาทางการท่องเที่ยว (Tourism Content Creator) เช่น Travel Influencer, YouTuber, Blogger, Vlogger, นักเล่าเรื่องการท่องเที่ยว นักเขียนโฆษณาทางการท่องเที่ยว
-นักจัดการอีเว้นท์และการประชุม (MICE Organizer) เช่น ผู้จัดงานประชุมมืออาชีพ (Professional Conference Organizer – PCO) ผู้จัดงานแสดงสินค้ามืออาชีพ (Professional Exhibition Organizer – PEO)
-ผู้จัดการศูนย์การประชุมและศูนย์แสดงสินค้า (Venue Manager) ที่ดูแลและบริหารสถานที่จัดงานประชุมและแสดงสินค้า
-พนักงานในธุรกิจสายการบินและการขนส่ง เช่น พนักงานบริการภาคพื้นของสายการบิน เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งทางอากาศ และพนักงานบริษัทตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสาร
-ผู้จัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนันทนาการ ที่ดูแลและบริหารกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ สปา และกิจกรรมเชิงนันทนาการ

2. สายงานองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ สำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในหน่วยงานของรัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว สามารถประกอบอาชีพในตำแหน่งดังต่อไปนี้
-เจ้าหน้าที่วางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-นักวิเคราะห์นโยบายด้านการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับประเทศและนานาชาติ
-เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและองค์กรระหว่างประเทศ
-เจ้าหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรม MICE ที่ดำเนินการด้านการจัดประชุม นิทรรศการ และงานแสดงสินค้าในหน่วยงานภาครัฐ
-นักวิจัยและนักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ที่ศึกษาวิจัยและพัฒนาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ
-ผู้บริหารโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวในภาครัฐ ที่ทำงานเกี่ยวกับโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธรรมชาติ และสุขภาพ

3. สายงานเจ้าของธุรกิจส่วนตัวและผู้ประกอบการ สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว สามารถสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ดังนี้
-ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว และบริษัทจัดการการท่องเที่ยว (Tourism Business Owner)
-ผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว (Tourism Start-Up Founder) พัฒนาโมเดลธุรกิจที่สามารถขยายตัวและเติบโตได้ในระดับสากล
-เจ้าของบริษัทออแกไนซ์ด้านอีเว้นท์และ MICE ให้บริการด้านการประชุม งานแสดงสินค้า และกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
-เจ้าของธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต และที่พักแนวใหม่ เช่น โฮสเทลเชิงสร้างสรรค์ โรงแรมบูติก และที่พักแนวธรรมชาติ
-ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Food Tourism Business Owner) ที่ให้บริการด้านอาหารและการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
-ที่ปรึกษาทางการตลาดและพัฒนาโมเดลธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism Business Consultant)
-เจ้าของแพลตฟอร์มและสื่อท่องเที่ยวดิจิทัล เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชันท่องเที่ยว และแพลตฟอร์มรีวิวสถานที่ท่องเที่ยว
-ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนันทนาการ เช่น ศูนย์สุขภาพและสปา ธุรกิจโยคะรีทรีต และกิจกรรมฟิตเนสกลางแจ้ง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

1) ภารกิจด้านบริการการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
โทรศัพท์ 08-9711-1619, 0-4320-2401 ต่อ 48008, 48009
(ภายในเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ : 08.30 – 16.30 น.)

2) งานรับเข้าศึกษา สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร. 09-5671-6259, 09-5669-4704, 0-4320-2660
(ภายในเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ : 08.30 – 16.30 น.)

FIN

 

Finance and Financial Technology

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน

MK

 

Marketing Technology

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัลและเทคโนโลยีการตลาด วิชาเอกเทคโนโลยีการตลาด

MGT

 

Management, Entrepreneurship and Logistics

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ผู้ประกอบการและโลจิสติกส์

TOUR

 

Tourism Innovation Management

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว

HOT

 

Hospitality and Event Management

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว

DE

 

Digital Entrepreneur

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัลและเทคโนโลยีการตลาด วิชาเอกผู้ประกอบการดิจิทัล

ACC

 

Accountancy

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

ACC INT

 

Accountancy International Program

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

MBA

 

Master of Business Adminitration

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

MAcc

 

Master of Accountancy

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต

Ph.D.

 

Doctoral Program in Philosophy

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

FIN

 

Finance and Financial Technology

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน

MK

 

Marketing Technology

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัลและเทคโนโลยีการตลาด วิชาเอกเทคโนโลยีการตลาด

MGT

 

Management, Entrepreneurship and Logistics

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ผู้ประกอบการและโลจิสติกส์

TOUR

 

Tourism Innovation Management

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว

HOT

 

Hospitality and Event Management

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว

DE

 

Digital Entrepreneur

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัลและเทคโนโลยีการตลาด วิชาเอกผู้ประกอบการดิจิทัล

ACC

 

Accountancy

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

ACC INT

 

Accountancy International Program

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

MBA

 

Master of Business Adminitration

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

MAcc

 

Master of Accountancy

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต

Ph.D.

 

Doctoral Program in Philosophy

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต